อัลเคน(Alkane)

     ทฤษฏีสูตรโครงสร้างทางเคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry Structural Formula Theory)


     ทฤษฏีสูตรโครงสร้างได้ถูกแบ่งไว้เป็น 2 ข้อดังนี้
 
     1. อะตอมของธาตุในสารประกอบอินทรีย์เกิดการสร้างจำนวนพันธะที่แน่นอน (พิจรณาจาก e- วงนอกสุด)


         C มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะได้ 4 คู่ (Tetravalent) จึงเกิดได้ 4 พันธะ
         N มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะได้ 3 คู่ (Trivalent) จึงเกิดได้ 3 พันธะ
         O มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะได้ 2 คู่ (Divalent) จึงเกิดได้ 2 พันธะ
         H มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะได้ 1 คู่ (Monovalent) จึงเกิดได้ 1 พันธะ


     2. อะตอมคาร์บอนอาจเป็นพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือ พันธะสามโดยมีข้อสังเกตว่า มีพันธะได้ เส้น (รอบอะตอมคาร์บอนแต่ละอะตอม) 
        
       
        ไนโตรเจนอะตอมมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะได้ คู่ จึงเกิดพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม
         

            ออกซิเจนอะตอม
ออกซิเจนมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะได้ คู่จึงเกิดพันธะเดี่ยว หรือพันธะคู่ 

      
            ไฮโดรเจนและแฮโลเจนมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะได้ คู่จึงเกิดพันธะเดี่ยวเท่านั้น       




                         การเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ (Line - Angle Organic Formula)


           1. สูตรโครงสร้างลิวอิส ใช้เส้นตรงแทนพันธะระหว่างธาตุ องค์ประกอบทุกพันธะภายในโมเลกุลของสารอินทรีย์
           2. สูตรโครงสร้างแบบย่อ ไม่แสดงพันธะเดี่ยวระหว่างธาตุองค์ประกอบ แต่จะแสดงพันธะคู่และพันธะสามในโมเลกุลของสารอินทรีย์
           3. สูตรโครงสร้างแบบเส้นและมุม ใช้เส้นตรงแทนพันธะภายในโมเลกุล มุมของแส้นตรงแสดงทิศทางของพันธะ                                                      ไม่เขียนสัญลักษณ์ของธาตุ C และ H







                         ไอโซเมอริซึม (Isomerism)


           ไอโซเมอริซึม คือ ปรากฏการณ์ซึ่งสารที่มีูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีสมบัติทางกายภาพ เช่นจุดเดือนจุดหลอมเหลวต่างกัน เรียกสารเหล่านั้นว่า ไอโซเมอร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


            1. ไอโซเมอร์โครงสร้างแบบเส้น (Structural isomer) มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีสูตรโครงสร้างการจัดเรียนที่แตกต่างกัน เช่น C5H12


     
             2. ไอโซเมอร์เรขาคณิต (Stereo Isomer) คือไอโซเมอร์ซึ่งมีสูตรโมเลกุล และมีสูตรโครงสร้างเหมือนกัน แต่มีการจัดอะตอมหรือกลุ่มอะตอมในที่ว่างภายในโมเลกุลต่างกัน เช่น C4H




        


                            หมู่ฟังก์ชัน (Function group)


           หมู่ฟังก์ชัน (Function group) คือกลุ่มอะตอมซึ่งแสดงสมบัติเฉพาะตัวของสารอินทรย์ สารอินทรีย์ชนิดเดียวกันจะมีหมู่ฟังก์ชันเดียวกัน         จึงมีสมบัติเฉพาะตัวคล้ายกันด้วย




_____________________________________________________________อัครพงศ์ จิตต์ว่องไว (กล้า)__4/11/53___
          
        ปฏิกริยาของสารประกอบอินทรีย์ (Organic Reaction)


              เกี่ยวข้องกับพันธะ การทำลายพันธะหรือ การแตกพันธะโคเวเลนต์โดยเกิดผ่านสารตัวกลางที่เรียกว่า สารมัธยันตร์ (Intermediate)


             ประเภทของปฏิกริยาในเคมีอินทรีย์  จำแนกตามลักษณะการเปลี่ยนแปรงของหมู่อะตอมในโมเลกุล เป็น 6 ประเภท


             1. ปฏิกิริยาการแทนที่ (Substitution Reaction) เกิดเฉพาะสารประกอบคาร์บอนที่อิ่มตัวแล้ว เช่น Alkane, Alkylhalides


                                            CH3 - CH2 - CH3  + Br2    CH3 -   CH- CH2 - Br   +  HBr
                                                  
            2. ปฏิกิริยาการเติม (Addition Reaction) เกิดเฉพาะสารประกอบคาร์บอนที่ยังไม่อิ่มตัว เช่น Alkane, Alkyne
                                                      


            3. ปฏิกิริยาการขจัดออก (Elimination Reaction) เป็นการดึงเอาอะตอมใดๆ ออกจากโมเลกุล
                                                    
            4. ปฏิกิริยาการเรียงตัวใหม่ (Rearrangement Reaction) เกิดสารประกอบคาร์บอนที่จัดเรียงตัวใหม่ แต่มีสูตรโมเลกุลเหมือนเดิมกับสารตั้งต้น
            5. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน (Polymerization Reaction) เกิดสารประกอบคาร์บอนที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้นโดยมีหมู่ซ้ำๆกัน
            6. ปฏิกิริยาการแตกตัว (Cracking Reaction) ทำให้สารประกอบคาร์บอนโมเลกุลใหญ่มีโมเลกุลเล็กลง



      สารประกอบอัลเคน (Alkanes)


                        แอลเคน คือไฮโดรคาร์บอนโซ่ปิดชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะดังนี้
            
                - มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2n+2
                - เป็นสารที่ไม่ว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา ที่ภาวะปกติ (Paraffin-Hydrocarbon)
                - เป็นสารคาร์บอนชนิดอิ่มตัว


                                                            


                การเรียกชื่อแอลเคน
                        
                   การเรียกชื่อสารประกอบอัลเคนเราสามารถเรียกได้ 2 ประเภท คือ ชื่อสามัญ (Common Name) และชื่อ IUPAC ซึ่งถือเป็นชื่อหลักที่ให้ทั่วโลกให้การยอมรับ


                   แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้จักการเรียกชื่อในระบบชื่อสูตรโมเลกุลก่อน โดยระบบนี้จะเรียกชื่อสูตรโมเลกุลของแอลเคนตามจำนวนคาร์บอนอะตอมที่มีอยู่ในโมเลกุล โดยบอกจำนวนอะตอมของคาร์บอนในภาษากรีก แล้วลงท้ายด้วย ane




   ตัวอย่างการอ่านชื่ออัลเคนในระบบชื่อสูตรโมเลกุล



                    ระบบชื่อสามัญ (Common Names)           ใช้เรียกชื่อโมเลกุลเล็กๆ ที่ไม่ซับซ้อน ถ้าโมเลกุลใหญ่ขึ้นอาจจะต้องเติมคำนำหน้า  เช่น n- , iso- , หรือ neo-   ลงไปด้วย ตัวอย่างเช่น
          CH4                                                      เรียกมีเทน
          CH3 - CH2 - CH3                                     เรียกโพรเพน
          CH3 - CH2 - CH2 - CH2 - CH3                    เรียกนอร์มอลเพนเทน              
         CH3 - CH2 - CH2 - CH2 - CH2 - CH3             เรียกนอร์มอลเฮกเซน 


                       






                     การเรียกชื่อหมู่อัลคิล (Alkyl Group)


             เป็นส่วนหนึ่งของโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนประเภทอัลเคนที่ถูกดึงไฮโดรเจนออก 1 อะตอม เช่น CH3 เรียก Methyl มีสูตรโมเลกุลเป็น CnH2n+1


                                                                   


                     1. คำนำหน้า n- ย่อมาจาก normal ใช้กับหมู่อัลคิลที่เป็นโซ่ตรง
                                          
-CH2 - CH2 - CH3
               
                     2. คำนำหน้า iso- ใช้กับหมู่อัลคิลที่มีหมู่ methyl แยกสาขาที่คาร์บอนตัวรองสุดท้าย
                                                  
                     3. คำนำหน้า sec- ย่อมาจาก secondary ใช้กับหมู่อัลคิลที่มีจุดต่อ ณ ตำแห่ง C ที่ 2 ของโซ่หลัก

                     4. 
คำนำหน้า tert- ย่อมาจาก tertiary ใช้กับหมู่อัลคิลที่มีจุดต่อ ณ ตำแห่ง C ที่ 3 ของโซ่หลัก


                                           
                                             

                   การเรียกชื่อแอลเคนในระบบ 
IUPAC

          มีหลักการเรียกชื่อดังนี้
          1. ถ้าเป็นโมเลกุลสายยาว ไม่มีกิ่ง ให้เรียกชื่อโครงสร้างหลักตามจำนวนคาร์บอนที่มี แล้วลงท้ายด้วย - ane  เช่น
                             CH3-CH2-CH2-CH3                       มีคาร์บอน อะตอมเรียกว่า  บิวเทน  (butane = but +ane)
                             CH3-CH2-CH2-CH2-CH3                 มีคาร์บอน อะตอมเรียกว่า  เพนเทน  (pentane = pent +ane)
                             CH3-CH2-CH2-CH2- CH2-CH3         มีคาร์บอน อะตอมเรียกว่า เฮกเซน  (hexane = hex +ane)
          2.  ถ้าเป็นโมเลกุลสายยาวที่มีกิ่ง ให้เลือกโครงสร้างหลักที่คาร์บอนต่อกันเป็นสายยาวที่สุดก่อนเรียกชื่อโครงสร้างหลักแล้วลงท้ายด้วย -ane                   หลังจากนั้นจึงพิจารณาส่วนที่เป็นกิ่ง
          3.ส่วนที่เป็นกิ่ง เรียกว่าหมู่แอลคิล การเรียกชื่อหมู่แอลคิลมีหลักการดังนี้
          4.การนับจำนวนคาร์บอนในโครงสร้างหลักเพื่อบอกตำแหน่งของหมู่แอลคิล ให้ใช้ตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุด  เช่น        
                                                
          5.ตรวจดูว่ามีหมู่แอลคิลอะไรบ้าง ต่ออยู่กับคาร์บอนตำแหน่งไหนของโครงสร้างหลักให้เรียกชื่อหมู่แอลคิลนั้นโดยเขียนเลขบอกตำแหน่งไว้หน้าชื่อพร้อมกับมีขีด ( - ) คั่นกลาง  เช่น   2-methyl,   3-methyl ,   3-ethyl   ฯลฯ
          6.ถ้ามีหมู่แอลคิลที่เหมือนกันหลายหมู่ ให้บอกตำแหน่งทุก ๆ หมู่ และบอกจำนวนหมู่ด้วยภาษาละติน  เช่น  di = 2,  tri = 3 , tetra = 4 , penta = 5 , hexa = 6 , hepta = 7 , octa = 8 , nona = 9 , deca = 10  เช่น 2, 3 - dimethyl  
          7.ถ้ามีหมู่แอลคิลต่างชนิดมาต่อกับโคงสร้างหลัก ให้เรียกทุกหมู่ตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ (ไม่รวมจำนวนหมู่ เช่น di, tri , tetra)  พร้อมกับบอกตำแหน่งของหมู่แอลคิลแต่ละหมู่  เช่น 3-ethyl - 2 - methyl , 3 - ethyl - 2, 3 - dimethyl
          8.ชื่อของหมู่แอลคิลและชื่อโครงสร้างหลักต้องเขียนติดกัน


                สมบัติของแอลเคน (Physical properties)


          1.ไม่ละลายน้ำเนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว


          2.ไม่นำไฟฟ้าเพราะเป็นสาร non electrolyte


          3.มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ


          4.จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงขึ้นตามจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากคาร์บอนยิ่งมากมวลโมเลกุลยิ่งมากทำ                                        
             ให้แรงแวนเดอร์วาลส์มีค่ามากปฏิกิริยาของแอลเคน


                       
                         
                               การเตรียมสารประกอบอัลเคน (Synthesis of Alkanes)



               - Hydrogenation of Alkenes or Alkynes
                  
                          โดยการเติมไฮโดรเจนเข้าไปในพันธะไพของสารประกอบอัลคีนซึ่งมีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นโลหะ


               - Hydrogenation of Alkylhalides




            ปฏิกิริยาของสารประกอบอัลเคน (Reaction of Alkane)


                        อัลเคนเป็นสารประกอบที่อิ่มตัวมากจึงไม่ค่อยเกิดปฏิกิริยากับสารอื่น แต่ถ้าเกิดจะเกิดปฏิกิริยาการแทนที่อย่างเดียวเท่านั้น




           1.ปฏิกิริยาการเผาไหม้(Combustion reaction) หรือ ปฏิกิริยาออกซิเดชัน(Oxidation reaction)แอลเคนติดไฟได้ง่าย ให้เปลวไฟสว่างไม่มี


ควันและมีความร้อนเกิดขึ้นโดยสมการแสดงปฏิกิริยาการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของแอลเคนสามารถเขียนได้ดังนี้


                                                                          CxHy + (x+y/4)O2 — xCO2 + H2O


           2.ปฏิกิริยาการแทนที่(Substitution reation) หรือปฏิกิริยาฮาโลจิเนชันHalogenation reaction) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการที่ไฮโดรเจน


อะตอมถูกแทนที่ด้วยธาตุฮาโลเจน โดยมีแสงหรือความร้อนเป็นช่วย


                                                           CnH2n+2 + X2 /CCl4 light — CnH2n+1X + HX (X= Cl, Br, I)



             
   สารประกอบไซโคลอัลเคน (Cycloalkanes)

                          
เป็นสารประกอบที่มีลักษณะเป็นวงปิด (Cyclic) ที่อิ่มตัวแล้ว ดังนั้นสารประกอบไซโคลอัลเคนคล้ายคลึงกับอัลเคนมาก




             การเรียกชื่อ (Nomenclature)

             
ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับสารประกอบอัลเคนที่เป็นโซ่ตรง แต่ยกเว้นโซ่หลักจะต้องนำหน้าด้วยคำว่า Cyclo




      
             ประโยชน์และโทษของอัลเคน

                       แอลเคนขนาดโมเลกุลเล็กๆ เช่น  CH4  ซึ่งพบในก๊าซธรรมชาติ ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องทำความร้อน หม้อต้มน้ำร้อน โพรเพน          และบิวเทนใช้เป็นก๊าซหุงต้มตามบ้านเรือน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี)   เป็นก๊าซที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม  แล้วบรรจุในถังเหล็กภายใต้           ความดันสูงทำให้ได้เป็นของเหลว ก็ใช้เป็นก๊าซหุงต้มเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังใช้แอลเคนเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมสารซักฟอก เส้นใย  สารเคมีทางการเกษตรและยาปราบศัตรูพืช แอลเคนชนิดเหลวใช้เป็นตัวทำละลาย พวกโมเลกุลขนาดใหญ่ใช้ทำน้ำมันหล่อลื่น
          นอกจากจะมีประโยชน์แล้ว แอลเคนก็มีโทษเช่นเดียวกัน เนื่องจากสามารถละลายสารอินทรีย์ไม่มีขั้ว เช่น ไขมันและน้ำมันได้ เมื่อสูดดมไอของแอลเคนเข้าไปจะทำให้เป็นอันตรายกับเนื้อเยื่อปอดเพราะไปละลายไขมันในผนังเซลล์ที่ปอดนอกจากนี้แอลเคนบางชนิดที่ใช้เป็นตัวทำละลาย เช่น        เอกเซน ทำให้ผิวหนังแห้งเจ็บ คันและแตก เพราะไปละลายน้ำมันที่ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื้นจึงแห้งและแตก


______________________________________________________________________________________________